วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บั้งไฟพญานาค

นักท่องเที่ยวทุกสารทิศ ต่างมุ่งหน้าไปยังจังหวัดหนองคาย เพื่อชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ณ ริมฝั่งโขง ในช่วงออกพรรษาปลายเดือนนี้ ซึ่งคาดว่าจะเกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ 2 วันซ้อน นักวิทยาศาสตร์ของไทยและต่างประเทศหลาย ๆ สำนักต่างพยายามพิสูจน์ปรากฏการณ์นี้ตามหลักวิทยาศาสตร์
ในจังหวัดหนองคาย มีการเกิดปรากฏการณ์ประหลาดมีลูกไฟสีชมพูพุ่งขึ้นเหนือลำน้ำโขง ตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร แล้วพุ่งขึ้นไปในอากาศสูงประมาณ 50-150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที ไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ไม่มีเสียง ชาวบ้านเรียกว่า บั้งไฟผี หรือ บั้งไฟพญานาค โดยจะเกิดปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ในช่วงวันออกพรรษา หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 28 ต.ค.
จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของไทยหลายฉบับสรุปว่า บั้งไฟพญานาค คือ ก๊าซมีเทน-ไนโตรเจน ที่เกิดจากการอาศัยอยู่ร่วมกันระหว่างแบคทีเรียที่ทนต่อออกซิเจนได้ ณ ความลึกของแม่น้ำโขงและแหล่งน้ำข้างเคียง 4.55 -13.40 เมตร ตำแหน่งที่มีสารอินทรีย์พอเหมาะใต้ผิวโคลน หรือทรายท้องแม่น้ำโขง ซึ่งระดับน้ำขนาดนี้จะมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส (ปริมาณออกซิเจนน้อย)
ทั้งนี้ในวันที่เกิดปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค คือวันที่แสงแดดส่องลงมาในช่วงเวลาประมาณ 10,13 และ16 นาฬิกา มีอุณหภูมิมากกว่า 26 องศาเซลเซียสทำให้มีความร้อนมากพอที่จะย่อยสลายอินทรีย์ และจะมีก๊าซมีเทนจากการหมักมากว่า 3-4 ชั่วโมง ซึ่งมากที่จะก่อให้เกิดความดันก๊าชในผิวทรายทำให้ก๊าซจะหลุดออกมาและพุ่ง ขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ
ฟองก๊าซที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำบางส่วนจะฟุ้งกระจายออกไป ส่วนแกนในของก๊าซขนาดเท่าหัวแม่มือจะพุ่งขึ้นสูงกระทบกับออกซิเจน รวมกับอุณหภูมิที่ลดต่ำลงของคืนที่เกิดเหตุการณ์ทำให้เกิดการสันดาปอย่าง รวดเร็วจนติดไฟได้ ดังนั้นดวงไฟหลากสีที่เราพบเห็นจะเป็นสีแดงอำพัน (เหลือง)
ทั้งนี้ช่วงเวลาที่เกิดบั้งไฟพญานาคจะเป็นเดือนมีนาคม เมษายน พฤษภาคม กันยายน และตุลาคม เพราะโลกโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดทำให้รังสีอัลตร้าไวโอเล็ตเพิ่ม ปริมาณสูงขึ้นและเจาะทะลวงยังพื้นโลกได้มากขึ้น ขณะเดียวกันประเทศไทยก็ตั้งอยู่ในแถบแนวเส้นศูนย์สูตรที่สามารถรับแสง อาทิตย์ได้มาก
เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเองในแกนที่เอียงทำมุม 23.5 องศา กับดวงอาทิตย์ทำให้ซีกโลกในเวลากลางคืนของประเทศที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้น ละติจูด 15-45 องศาเหนือและองศาใต้ อยู่ห่างจากแนวแรงรวมของแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์ไม่เกิน 25 องศาในวันขึ้น 15 ค่ำเดือนกันยายน, ตุลาคม, เมษายน และพฤษภาคม ทำให้มีปรากฏการณ์ที่คล้ายคลึงกันเกิดขึ้นในหลายประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว

สำหรับนายแพทย์มนัส กนกศิลป์ แห่งโรงพยาบาลหนองคาย ซึ่งเป็นผู้ศึกษาปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคตามหลักวิทยาศาสตร์มาเป็นเวลานาน กล่าวไว้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนก.พ. 38 ว่า "บั้งไฟพญานาคน่าจะเป็นสสาร และจะต้องมีมวล เพราะแหวกนํ้าขึ้นมาได้ จึงน่าจะเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จุดติดไฟได้เอง และต้องเบากว่าอากาศ"

หมอมนัสยังได้สรุปอีกว่า บั้งไฟพญานาค คือ ก๊าซมีเธน-ไนโตรเจน ความบริสุทธิ์ประมาณ 19% เกิดจากการอยู่ร่วมกันระหว่างแบคทีเรียที่ทนทานต่อก๊าซออกซิเจนได้ และแบคทีเรียกลุ่มมีเธนฟอร์มเมอร์ ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพไร้ออกซิเจนเท่านั้นซึ่งก๊าซมีเทน และไฮโดรเจนเหล่านี้เกิดจากการหมักตัวของบัคเตรี จากมูลสัตว์ ซากพืชและสัตว์ที่ตายแล้ว

หลังจากใช้เวลาหมัก 3-6 ชั่วโมง จะได้ก๊าซมีเธนปริมาณมากพอที่จะก่อให้เกิดความดันก๊าซ ใต้ผิวทรายอย่างน้อย 1.45 เท่าของความดันอากาศ หล่มทรายก็จะไม่สามารถปรับแรงดันได้ ก๊าซจะหลุดออกมาและพุ่งขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ ฟองก๊าซที่โตกว่า 15 CC. (ขนาดหัวแม่มือ) ลอยสูงขึ้นไปกระทบกับอนุภาคออกซิเจนกับอะตอมที่มีประจุที่มีพลังงานสูงและมี ความหนาแน่นมากพอ และเมื่อลอยสูงขึ้นมาผ่านพ้นผิวนํ้าจะเหลือขนาดแค่ 12 ซีซี ช่วงนี้เองที่จะเริ่มติดไฟได้ด้วยตัวเอง จนเกิดเป็นบั้งไฟพญานาค
อีกทั้งทฤษฎีความเชื่อของหมอมนัสยังถูกโยงเข้ากับความรู้เรื่องกระแสลม ซึ่งช่วยอธิบายถึงการที่บั้งไฟลอยขึ้นสู่ที่สูง พัดเฉเข้าหาฝั่ง หรือเฉออกกลางแม่นํ้า "ความเร็วของ ลมที่ไม่เท่ากัน จะทําให้บั้งไฟพุ่งขึ้นเร็วหรือช้าต่างกัน ลูกไฟที่อยู่ใกล้ฝั่งมักมีลูกเล็ก เพราะปูดขึ้นมาจากท้องนํ้าที่ตื้นกว่า ระยะทางวิ่งจากท้องนํ้ามายังผิวนํ้าของก้อนก๊าซ จะสั้นกว่าลูกไฟที่ปูดขึ้นจากที่ลึก หรือกลางแม่นํ้า พวกที่มาจากที่ลึกจะมีแรงส่งตัวและความเร็วที่สูงกว่าจึงพุ่งขึ้นอย่าง รวดเร็วคล้ายบั้งไฟ ส่วนพวกที่มาจากใกล้ๆ ฝั่ง ซึ่งนํ้าตื้นจะมีแรงส่งตัวและความเร็วตํ่ากว่าจึงลอยนิ่งขึ้นมา พอถึงระดับตลิ่งจึงเริ่มเฉตัวขึ้นสูง" หมอมนัส กล่าว
นอกจากนี้ในนิตยสารนิวไซแอนทิส (New Scientist) ยังได้รายงานถึงปรากฏการณ์ครั้งนี้โดยตั้งสมมติฐานออกมาเป็น 2 แนว คือ ปรากกฎการณ์นี้เกิดมาจากฟอสฟอรัสที่รวมตัวกัน ปรากฏการณ์แสงเรือง ๆ ที่ลอยเหนือในที่ ๆ มีน้ำขัง คาดว่าเกิดจากการเผาไหม้ฉับพลันของก๊าซไวไฟ เป็นปรากฏการณ์ที่พบได้ยากมาก เป็นผลมาจากการเผาไหม้จนเกิดก๊าซที่เกิดจากการหมักหมมของซากพืชซากสัตว์เป็น ระยะเวลาหลายปีภายใต้หนองบึง เชื่อกันว่าสารประกอบที่สำคัญเหล่านี้เกิดจากสารฟอสฟอรัสที่รวมตัวกัน ซึ่งเป็นสารประกอบของไฮไดรด์ ไดฟอสเฟน (hydride diphosphane) ที่ปล่อยความดันไอขึ้นมาที่อุณหภูมิระหว่าง 20 – 30 องศาและเผาไหม้ตามธรรมชาติในอากาศด้วยความเข้มข้นต่ำ
ในต้นทศวรรษนี้นักวิทยาศาสตร์ต่างตัดความเป็นไปได้ว่าสิ่งเหล่านี้อาจ เกิดจากปฏิกิริยาของแบคทีเรียบนท้องน้ำแต่การวิจัยเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นว่าปฏิกิริยานี้เกิดจากการหมักหมมของสารอินทรีย์ที่อุดมไป ด้วยฟอสฟอรัส ซึ่งเห็นเป็นแสงเรือง ๆ คล้ายเปลวเทียนตามป่าช้าที่เห็นในบริเวณโบสถ์ ส่วนการอธิบายอื่น ๆ นอกเหนือไปจากนี้ อาจเป็นเพราะว่าแสงที่เห็นขึ้นอยู่ภายใต้ผิวน้ำ สันนิษฐานว่าเกิดจากแก๊สที่รวมตัวกันในโคลนตมในลำน้ำซึ่งมาสัมผัสกับ ออกซิเจนเพื่อเกิดการเผาไหม้ใต้น้ำ ดังนั้นสมมติฐานเกี่ยวกับไดฟอสเฟนอาจจะถูกตัดไป
ส่วนบางคนที่ไปทดลองไฟเหล่านี้อาจจะพบ “เปลวไฟเย็น” มีหลายทฤษฎีมาก ๆ ที่อธิบายปรากฏการณ์นี้ ยกตัวอย่างเช่น ภายใต้ความเข้มข้นต่ำของออกซิเจน การระเหยของฟอสฟอรัสจะทำให้เกิดการเรืองแสงและจะรวมตัวกันได้ง่ายผ่านการ สลายตัวของไดฟอสเฟน นักจุลชีววิทยาเชื่อว่าปรากฏการณ์นี้เป็นสาเหตุมาจากแบคทีเรียฟอสฟอเรสเซนต์ ( phosphorescent bacteria ) ซึ่งเชื่อว่าบางสายพันธุ์จะอาศัยอยู่ในดิน
ทิม ดาวน์นี (Tim Downie) กล่าวในนิตยสารนิวไซแอนทิส ว่า เขาเคยได้ยินเรื่องปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคมาก่อนถึงแม่ว่าจะไม่เคยเห็นมัน จริง ๆ ตั้งแต่ที่ทำงานเป็นนักธรณีวิทยา ปัจจุบันพบว่าการเกิดพระจันทร์เต็มดวงและอิทธิพลของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำ ขึ้นน้ำลง ยกตัวอย่างเช่น คลื่นบนผิวน้ำที่เกิดขึ้นอย่างผิดปรกติอาจจะเกิดหลังจากฝนตกหนักทำให้มีน้ำ หลาก ขณะที่คลื่นในแม่น้ำเกิดที่หนึ่ง คลื่นสามารถเคลื่อนขึ้นและลงได้ถ้าแม่น้ำมีกระแสน้ำขึ้นน้ำลง
ส่วนความสูงและช่องว่างของคลื่นจะขึ้นอยู่กับการไหลและลักษณะทาง ธรณีวิทยาของแม่น้ำ เปรียบเทียบได้กับเรือที่ไหลจะทิ้งคลื่นซัดชายฝั่งทิ้งไว้เป็นเวลานานและให้ ผลอย่างเดียวกัน เขากล่าวเพิ่มเติมว่า บั้งไฟพญานาคไม่เพียงจะเกิดแค่ในแม่น้ำโขงแต่มันยังเกิดทางตอนเหนือภายใน ประเทศลาวซึ่งมีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนตามธรรมชาติ บั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นเพียงบริเวณเล็ก ๆ อาจเกิดทั้งในแม่น้ำและในทุ่งนาที่มีน้ำท่วมขัง
ส่วนสถานที่ที่รายงานว่าเคยพบลูกไฟที่มีลักษณะคล้ายบั้งไฟพญานาค ได้แก่ มลรัฐมิสซูรี (ห่าง 20 องศา ไปทางเหนือ ในเวลากลางคืน), มลรัฐเท็กซัส ทางตอนใต้ของสหรัฐ (ห่าง 11.5 องศา ไปทางเหนือ ในเวลากลางคืน) ซึ่งเรียกว่า แสงมาร์ฟา ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นมากว่า 100 กว่าปีแล้ว และยังมีที่เมืองเจดด้าห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ริมฝั่งทะเลแดง (ห่าง 0.5 องศาไปทางเหนือในเวลากลางคืน)
หนองคาย ละติจูด 17 องศา 52 ลิปดา เหนือ (ห่าง 5 องศา 38 ลิปดา ไปทางใต้ตอนกลางคืน) ปรากฏการณ์นี้จะเกิดได้มากในทุกประเทศที่กล่าวข้างต้น ในคืนข้างขึ้น 7-9 ค่ำ,ข้างแรม 7-9 ค่ำ หรือขึ้น 14 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ ของเดือนที่ได้กล่าวไปแล้ว นอกจากนี้ อีกช่วงเวลาหนึ่งที่อาจพบบั้งไฟพญานาคได้ประปราย ก็คือในช่วงเดือนมิถุนายนของประเทศในซีกโลกเหนือ เช่น วันที่ 21 และ 28 มิย. 2539 ที่ผ่านมาหนองคายก็มีบั้งไฟพญานาคขึ้นเช่นกัน
สำหรับประเทศไทยมากกว่า 90% ของจำนวนลูกของบั้งไฟพญานาคในแต่ละปีจะพบขึ้นที่ จ.หนองคาย หน้าวัดไทย,และบ้านน้ำเป อ.โพนพิสัย,วัดอาฮง อ.บึงกาฬ,วัดหินหมากเป้ง และอ่างปลาบึก อ.สังคม ในคืนขึ้น 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำ เดือน 11 และแต่ละปีจะขึ้นปีละ 3-7 วัน แต่ที่ประชาชนไปทราบกันแพร่หลายมานับร้อยๆปี คือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ตามปฏิทินลาวซึ่งอาจตรงกับวันแรม 1 ค่ำ หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของไทย จะเป็นวันที่ขึ้นแน่นอนและขึ้นมากที่สุดของทุกปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น